ท้องถิ่น, สังคมท้องถิ่น

หอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ จัดกิจกรรมเทศกาล “PaknamArtistsLane” เมืองปากน้ำ ถนนคนศิลป์”

%e0%b8%ab%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a3-9

หอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ จัดกิจกรรมเทศกาล “PaknamArtistsLane เมืองปากน้ำ ถนนคนศิลป์” บริเวณอุทยานการเรียนรู้และหอชมเมืองสมุทรปราการ

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 23 ธันวาคม 2565 หอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ นำโดย นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ ได้จัดกิจกรรมครั้งแรกของเทศกาล “PaknamArtistsLane “เมืองปากน้ำ ถนนคนศิลป์” ระหว่างวันที่ 23-25 ธันวาคม 2565 ณ บริเวณอุทยานการเรียนรู้และหอชมเมืองสมุทรปราการ โดยมี นางประภาพร อัศวเหม นายกเทศมนตรีนครสมุทรปราการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ สมาชิกสภา เทศบาลนครสมุทรปราการ เข้าร่วมชมงาน

โดยบรรยากาศภายในงานได้จัดให้มีกิจกรรมศิลปะโรยทรายสี กิจกรรมการประกวดภาพวาด โดยนักเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ อาทิ เช่น โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ โรงเรียนเทศบาล 1-5 โรงเรียนวัดพิชัยสงคราม โรงเรียนมหาภาพกระจาดทองอุปถัมภ์ โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง ภายใต้หัวข้อ “สมุทรปราการบ้านฉัน” และWORKSHOP เพ้นท์โชว์ ดนตรี ฟู้ดทรัค ฯลฯ โดยมี อาจารย์ ชลิต นาคพะวัน (ซานโตส กลิ่นสี) ผู้อำนวยการ Chalit Art Project & Gallery และอาจารย์ วัฒนา พูลเจริญ ครูสอนศิลปะ ที่มีลายเส้นโดดเด่น ชัดเจน ชื่นชอบในงานอิมเพรสชั่นนิสต์ และจิตรกรผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับงานศิลปะการวาดรูป
นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการแสดงภาพวาดด้วยสีน้ำ และภาพถ่ายตามสถานที่ต่างๆ ของจังหวัดสมุทรปราการ ที่สวยงาม นำมาโชว์ภายในงาน การประกวดถ่ายคลิปสั้นลงโซเชียล การแสดงดนตรี The Flyimg Duke การแสดง Body Paint สเก็ตภาพคน และการแสดงเต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมครั้งแรกของเทศกาล “PaknamArtistsLane” เมืองปากน้ำ ถนนคนศิลป์” ระหว่างวันที่ 23-25 ธันวาคม 2565 เริ่มตั้งแต่เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป ณ บริเวณอุทยานการเรียนรู้และหอชมเมืองสมุทรปราการ โดยมีวัตถุประสงค์: 1. เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนได้ศึกษาค้นคว้าความรู้และมีจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรม 2. เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนได้ตระหนักถึงการประยุกต์ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของคนไทย ทั้งสังคม และวัฒนธรรมในอดีตถึง ปัจจุบัน

โดยประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้ร่วมประกวดได้ใช้ศักยภาพของตนในการศึกษาค้นคว้าและทำความเข้าใจองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญา สังคม และ ศิลปวัฒนธรรมได้อย่างลึกซึ้ง เป็นผู้เรียนรู้และถ่ายทอดให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ต่อไป 2. ผู้ร่วมประกวดได้รับรู้ถึงบทบาทสำคัญของงานศิลปวัฒนธรรม พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านั้นของตน สู่สาธารณะได้

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*