สังคมท้องถิ่น

ประชาสังคมสมุทรปราการ พบ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี สวัสดีปีใหม่ไทย สร้างสุข ปลอดภัย

%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-%e0%b8%9e

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 ที่ ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง ตำบลสำโรงเหนือ อ.เมือง จังหวัดสมุทรปราการ นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เปิดโอกาสให้นายคเณศ กมลพันธ์ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวจังหวัดสมุทรปราการ นายธิติ ภัทรสิทธิกฤษ ภาคประสังคมสมุทรปราการ เข้าพบเพื่อสวัสดีปีใหม่ไทยและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2567 และมีการนำเสนอข้อมูลจากภาคประชาชน ผลลัพธ์การขับเคลื่อนสุขภาพและปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพในมิติต่างๆ ซึ่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี แสดงความห่วงใยเด็กและเยาวชน การส่งเสริม Activity และการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพ  

นายคเณศ กมลพันธ์ กล่าวว่า การส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ มีผลเป็นรูปธรรม ชัดเจน มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สามารถขยายผลได้เป็นอย่างดี จึงขอโอกาสให้ภาคประชาชนได้เสนอข้อมูลผลลัพธ์เพื่อเป็นประโยชน์เชิงนโยบายด้านสุขภาพระดับประเทศต่อไป

นายกสมาคมผู้สื่อข่าวสมุทรปราการ รายงานข่าวภาคประชาสังคมให้ข้อมูลผลวิจัย ผลลัพธ์พฤติกรรมสุขภาวะ 4 ด้าน ในจังหวัดสมุทรปราการที่มีการดำเนินงานโดย ผศ.ดร.จักรพันธ์ พรมฉลวย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีสมุทรปราการ ร่วมกับคุณธิติ ภัทรสิทธิกฤษ  ภาคีสุขภาพสมุทรปราการ พบว่า สุขภาวะทางกาย 3.85 มากที่สุดอันดับ 1 รองลงมา ได้แก่ สุขภาวะทางสังคม 3.59 สุขภาวะทางปัญญา 3.25 และสุขภาวะด้านจิตใจ 3.03 ใน 4 ด้านมีผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบ่งเป็นด้านละ 5 อันดับ อาทิ สุขภาวะทางกาย อันดับ 1 คือ การเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้ห่างไกลจากอบายมุขและสิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ ยาบ้า การพนัน สุขภาวะด้านจิตใจ เด็กเยาวชนมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำกิจกรรมในพื้นที่ปลอดภัย ส่งผลเปลี่ยนแปลงอันดับ 1 เป็นต้น

จากข้อมูลการส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์กิจกรรมสร้างสุขที่ปลอดภัย โดยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ตรงตามความต้องการของเด็กและเยาวชนที่มุ่งเน้นกิจกรรมทางกายเป็นอันดับต้นๆ ช่วยลดพื้นที่เสี่ยง กิจกรรมเสี่ยง จากบุหรี่ไฟฟ้า กระท่อม กัญชา สุรา ยาสูบ สิ่งเสพติดต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ปัญหาสังคม ซึ่งไม่ตรงตามความต้องการของเยาวชนที่ควรได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสมกับวัย

นอกจากนี้ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั่วไปต่อร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ….) พ.ศ.  ….. และการเปรียบเทียบ 5 ร่างจากสมุดปกขาวเล่มที่ 4 โดยภาคประชาชนมีข้อห่วงใยในเรื่อง การแก้ไขพรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 ในประเด็น การส่งเสริมการขายในกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชน วิธีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มสถานที่ขาย สถานที่ดื่ม เวลาขาย ซึ่งสรุปข้อห่วงใย โดยขอให้คำถึงถึงผลกระทบในด้านสุขภาพ อุบัติเหตุ เช่น ระยะเวลาเดินทางในพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีความหนาแน่น ปริมาณโรงเรียนในพื้นที่จำนวนมาก และ สถานที่อาจไม่ใช่พื้นที่กระตุ้นเศรษฐกิจ และความพร้อมในการ Zoning อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่อยู่ในระบบงบประมาณของรัฐ อาจจะมีความล่อแหลมด้านการบริหารจัดการ หรือพฤติกรรมหลังการทำกิจกรรม ทั้งความรุนแรง การเดินทาง การล่วงละเมิด ความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ที่อาจจะถูกเผยแพร่ลงสื่อออนไลน์ก่อให้เกิดความเสียหายในพื้นที่นั้นๆ

อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มี “กลไกสมัชชาเครือข่ายควบคุมแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด” ร่วมกับทุกภาคส่วนมีความสำคัญมาก ตามสภาพแวดล้อม บริบทของภูมิภาคที่มีความแตกต่างกัน กอรปกับปัจจุบันพื้นที่ยังมีแนวโน้มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆเพิ่มขึ้นอีกด้วย เช่น สุขภาพจิต ความรุนแรง HIV และความเหลื่อมล้ำในสังคมอีกด้วย

ขณะที่ ร่างพ.ร.บ.ฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ภาคประชาชนสมุทรปราการขอโอกาสส่งต่อข้อมูลให้เกิดการรับรู้ข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อส่งเสริมสนับสนุนนโยบายการปกป้อง ความปลอดภัย คุณภาพชีวิต ค่านิยมที่เหมาะสมในเด็กและเยาวชน ให้เกิดความยั่งยืนของสังคมต่อไป

นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวถึง รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเชื่อว่าจะมีการดำเนินงานไปในทิศทางที่ดีเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแน่นอน ที่ผ่านมามีการส่งเสริมสนับสนุน Activity ที่หลากหลายเพื่อเด็กและเยาวชนจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการนั้น มีรูปธรรมความสำเร็จที่เห็นได้อย่างชัดเจน อีกทั้งมีความพยายามผลักดันกลไกภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ในการจัดตั้งสภาพัฒนาการศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ ส่งเสริมให้ระบบการศึกษามีคุณภาพ เป็นการพัฒนาบุคลากรคุณภาพ และสร้างประชากรคุณภาพให้เป็นกำลังที่สำคัญของชาติในอนาคตต่อไป

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*